การจัดการฐานข้อมูล

ความหมายของฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล

          ฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ร่วมกัน
          การจัดการฐานข้อมูล (Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งลดความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย

          ตัวอย่าง : การจัดระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ฐานข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์ ฐานข้อมูลหนังสือ-วารสารในห้องสมุด ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลประชากร ฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมไทยและฐานข้อมูลงานวิจัย เป็นต้น

          การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัย โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น


ความสำคัญของระบบฐานข้อมูล

สรุปความสำคัญของระบบฐานข้อมูลได้ดังนี้

  1. จัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Data Storage)
  2. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Reduce Data Redundancy)
  3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Data Concurrency)
  4. ลดความขัดแย้งหรือแตกต่างกันของข้อมูล (Reduce Data Inconsistency)
  5. ป้องกันการแก้ไขข้อมูลต่างๆ (Protect Data Editing)
  6. ความถูกต้องของข้อมูลมีมากขึ้น (Data Accuracy)
  7. สะดวกในการสืบค้นข้อมูล (Data Retrieval or Query
  8. ป้องกันการสูญหายของข้อมูล หรือฐานข้อมูลถูกทำลาย (Data Security)
  9. เกิดการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ (Apply Information System)

 

โครงสร้างข้อมูล (File Structure)

          โครงสร้างข้อมูล หมายถึง ลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

          1) บิท (Bit : Binary Digit) บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท

          2) ไบท์ (Byte) หรือ ตัวอักขระ (Character) ไบท์ (Byte) หรือ ตัวอักขระ (Character) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 หรือ 8 บิท (1 บิท แทนด้วยตัวอักษร 7 หรือ 8 บิท) ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น

          3) เขตข้อมูล (Field) หรือคำ (Word) เขตข้อมูล (Field) หรือคำ (Word) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย

          4) ระเบียน (Record) ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล

          5) แฟ้มข้อมูล (File) แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน

          6) ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา นักศึกษา การลงทะเบียน ผลการเรียนประจำเทอม โปรแกรมวิชา และคณะ เป็นต้น

การออกแบบฐานข้อมูล

          โดยทั่วไป การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานภายในองค์กรสามารถจำแนกได้ 2 วิธี คือ วิธีอุปนัย (Inductive approcah) และวิธีนิรนัย (Deductive approach)

          1) วิธีอุปนัย การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย เป็นการออกแบบฐานข้อมูลจากล่างขึ้นบน (Bottom-up design) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการใช้งานอยู่แล้วภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กร มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งมีข้อจำกัด คือ การนำกรรมวิธีย่อย ๆ จากการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกันเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก และต้องใช้เวลามากจึงจะสามารถออกแบบและสร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ได้

          2) วิธีนิรนัย การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีนิรนัย เป็นการออกแบบฐานข้อมูลจากบนลงล่าง (Top-down design) เป็นการออกแบบฐานข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนการทำงานของหน่วยงาน ต่าง ๆ ภายในองค์กร และความต้องการใช้งานฐานข้อมูล จากการสังเกตการณ์ สอบถาม หรือสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล ตลอดจนรวบรวมข้อมูลจากแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ภายในหน่วยงาน เพื่อนำมาออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งมีข้อจำกัดในการออกแบบ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูลต้องให้ความสำคัญ และความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจะทำให้ได้ระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุมระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร

          บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการออกแบบฐานข้อมูล 3 ฝ่าย คือ ผู้บริหารฐานข้อมูล (Data Base Administrator : DBA) และผู้บริหารข้อมูล (Data Administrator : DA) นักวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysts) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) และผู้ใช้ (End-User) ดังนี้

          1) ผู้บริหารฐานข้อมูลและผู้บริหารข้อมูล ผู้บริหารฐานข้อมูลเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ควบคุม กำหนดนโยบาย มาตรการ และมาตรฐานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น กำหนดรายละเอียดและวิธีการจัดเก็บข้อมูล กำหนดควบคุมการใช้งานฐานข้อมูล กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดระบบสำรองข้อมูล และกำหนดระบบการกู้คืนข้อมูล เป็นต้น ตลอดจนทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ใช้ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม

          2) นักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่รับผิดชอบในการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล ดังนั้นจึงต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจในระบบงานที่องค์กรต้องการ รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานโดยรวมของทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกด้วย นักเขียนโปรแกรมมีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น การเก็บบันทึกข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล เป็นต้น

          3) ผู้ใช้ ผู้ใช้เป็นบุคคลที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของระบบฐานข้อมูล คือ ตอบสนองความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ ดังนั้นในการออกแบบระบบฐานข้อมูล จึงจำเป็นต้องมีผู้ใช้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลด้วย


 

Minifrontpage

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

วันจันทร์, 02 มิถุนายน 2568 12:55

[data-gutter="2%"][data-nb="1"]:not(.ckadvancedlayout) [data-width="100"] {width:100%;}[data-gutter="2%"][data-nb="1"].ckadvancedlayout [data-width="100"] {width:100%;} #block_ID1748843556390 { }...

วันจันทร์, 02 มิถุนายน 2568 08:35

ผลทดสอบ วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน เด็กไทยคะแนนร่วงต่ำสุดในรอบ 20 ปี แพ้เพื่อนบ้านอาเซียน

ข่าวการศึกษา

PISA

ปัญหาการศึกษาของไทยกำลังเข้าขั้นน่าเป็นห่วง สะท้อนผ่านดัชนีชี้วัดหลายตัว ทั้งจำนวนเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาที่เพิ่มขึ้นเป็นปีละกว่าแสนคน ไปจนถึงคะแนนสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ที่ค่าเฉลี่ยคะแนนนักเรียนไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development) หรือ OECD ทั้ง 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านการอ่านที่มีคะแนนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

ส่วน ‘หลักสูตรฐานสมรรถนะ’ ที่คนในแวดวงการศึกษา พยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อเปลี่ยนโฉมการศึกษาไทย ก้าวทันการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 ก็ไม่สามารถเดินหน้าไปสู่เป้าหมาย รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนส่วนใหญ่ยังวนอยู่กับเนื้อหาและวิธีการเดิมๆ ที่ไม่ตอบโจทย์ทั้งการเรียนรู้และตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนนโยบาย ‘พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา’ ก็ยังไม่เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

ข้อมูลจาก : ThaiPBS


ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า  รัฐบาลมุ่งให้นักเรียน เรียนหนังสืออย่างมีความสุข และให้ความสำคัญต่อคุณภาพของครูและเด็กนักเรียนทั้งประเทศ และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เป็นรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนทุกคน

นายคารม กล่าวว่า พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 - 2568 มุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ โดยเน้นให้ผู้เรียน "เรียนดี มีความสุข" ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากทุกภาคตามคำกล่าว "จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน" และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย คือ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษาและลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

นายคารม กล่าวว่า เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ตามนโยบายของรัฐบาลและเจตนารมย์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำแนวทาง "การลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้" สำหรับครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางในการมอบหมายการบ้านแก่ผู้เรียนให้มีความเหมาะสม และใช้การบ้าน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้และประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง 

โดยได้แจ้งให้สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาทุกเขตเน้นย้ำ ให้สถานศึกษาในกำกับ ดำเนินการให้การมอบหมายการบ้านแก่นักเรียนเป็นไปอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุด มุ่งหวังให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ให้การบ้านเป็นเครื่องมือในการ พัฒนาการเรียนรู้และเป็นเครื่องมือประเมินเพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

แฟ้มภาพ TNN Online
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tnnthailand.com/news/social/159113/