การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- รายละเอียด
- เขียนโดย: สุรพงษ์ จ๋าก๋าง
- หมวด: การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ฮิต: 668
- รายละเอียด
- เขียนโดย: สุรพงษ์ จ๋าก๋าง
- หมวด: การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ฮิต: 390
ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล
(Database Management System)
ปัจจุบันเป็นสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ละหน่วยงานจะมีข้อมูลอยู่เป็น
จานวนมาก ข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการจัดเก็บและมีการเรียกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรวบรวมและการเก็บข้อมูลไว้ด้วยกันจะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่นการ
เรียกค้น การเพิ่มเติม การลบข้อมูลจะกระทาได้ง่าย การรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน
เรียกว่า ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS (Database Management System)
ประโยชน์ของฐานข้อมูล จะช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หลีกเลี่ยงความซ้ าซ้อนของ
ข้อมูลที่อาจจะเกิดขึ้น ขจัดความขัดแย้งของข้อมูล และสามารถก าหนดความเป็น
มาตรฐานเดียวกันได้ง่าย
ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความ
เป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence) ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ทาให้มีความเป็น
อิสระจากทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และส่วนของข้อมูลภายในฐานข้อมูล เพราะการทางาน
ของโปรแกรมระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลจะใช้ภาษาสอบถาม (Query Language)
ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์มีรูปแบบค าสั่งคล้ายกับประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ใช้สาหรับ
สอบถามหรือจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล และการทางานของระบบบริหารจัดการ
ฐานข้อมูล จะไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบของฮาร์ดแวร์ที่นามา ใช้ และไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง
ทางกายภาพของข้อมูล ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยไม่จาเป็นต้อง
ทราบถึงประเภทหรือขนาดของข้อมูล
1. ความหมายของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล
ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลคือชุดคาสั่ง หรือ โปรแกรม หรือ ซอฟท์แวร์ที่
สร้างขึ้นมาเพื่อทาหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล เช่น รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ
สะดวกและง่ายต่อการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลภายในฐานข้อมูล (การเก็บ
รักษา การเรียกใช้ การแก้ไข การเข้าถึงข้อมูล) รวมถึงการที่จะนามาปรับปรุงให้
ทันสมัย ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลจะทาหน้าที่เป็นเครื่องมือ หรือเป็นตัวกลาง
ระหว่างผู้ใช้ชุดคาสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความ
ถูกต้อง ความซ้าซ้อนและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูล รวมถึง
การรักษาความมั่นคง ความปลอดภัยของข้อมูล การสารองข้อมูล และ การเรียกคืน
ข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลเกิดความเสียหาย โดยที่ผู้ใช้ไม่จาเป็นต้องทราบถึงรายละเอียด
ภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล ตัวอย่างของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้
กั น อ ย่ า ง แ พ ร่ ห ล า ย เ ช่ น MySQL, PostgreSQL, Microsoft Access, SQL Server,
FileMaker, Oracle, Sybase, dBASE, Clipper และ FoxPro เป็นต้น
อาจจะสรุปได้ว่าระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล คือกลุ่มของโปรแกรม หรือ
ซอฟท์แวร์ ที่ทาหน้าที่เป็นตัวกลาง ดูแลจัดการ ควบคุมความถูกต้อง ความซ้าซ้อน
และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับฐานข้อมูล และอานวยความสะดวก
ให้กับผู้ใช้ ทั้งในด้านการสร้าง และการปรับปรุงแก้ไข
ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลที่ดี จะต้องมีความสามารถในการจัดการที่
หลากหลายความสามารถพื้นฐานที่ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลทุกตัวจะต้องมี คือ
ความ สามารถใน การจัดเก็บข้อมูล การเรียกค้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลง การลบ และ
การเพิ่มเติม เป็นต้น ผู้ใช้จะต้องเข้าใจโครงสร้างฐานข้อมูลและการกระท ากับ
ฐานข้อมูลนั้นด้วย รายละเอียดได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 1
2. สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล (Database Architecture)
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล หมายถึงการอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างและ
ส่วนประกอบหลักที่นามาประกอบเป็นระบบฐานข้อมูล ซึ่งระบบฐานข้อมูลได้ถูก
ออกแบบมาเพื่อรองรับโครงสร้างของข้อมูลที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คน เช่น ผู้บริหาร ผู้ดูและ
ระบบ และผู้ใช้ทั่วไป โดยไม่มีผลกระทบต่อผู้อื่นที่ก าลังใช้งานฐานข้อมูลนั้นอยู่ ผู้ใช้ไม่
จ าเป็นจะต้องสนใจโครงสร้างภายในฐานข้อมูล และผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างฐานข้อมูลได้โดยไม่กระทบกับผู้ใช้ฐานข้อมูล ด้วย
วัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงต้องมีการแบ่งระดับของข้อมูลออกเป็นหลายระดับเพื่อให้
เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลเป็นแนวคิดที่น าเสนอเกี่ยวกับโครงสร้าง และ
ส่วนประกอบที่รวมกันเป็นระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลมีจุดเด่นที่ต่างไปจากแฟ้มข้อมูล
ทั่วไปคือ ความเป็นอิสระของข้อมูล แต่เนื่องจากสถาปัตยกรรมฐานข้อมูลผู้ใช้มี
มุมมองและ วิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อมูลชุดเดียวกันก็ตาม ในปี
ค.ศ.1975 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน หรือ ANSI (American National
Standards Institute) จึงได้ก าหนดมาตรฐานสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล เรียกว่า
สถาปัตยกรรมสามระดับ (Three-level Architecture) ได้อธิบายรายละเอียดของ
โครงสร้างของฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ฐานข้อมูลในระดับที่แตกต่างกัน โดยอาศัย
ลักษณะในการมองภาพรวม (View) ของระบบเช่น โปรแกรมเมอร์จะเห็นโครงสร้าง
ของฐานข้อมูล ในเชิงของการออกแบบฐานข้อมูลให้ใช้งานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ที่
พัฒนาขึ้นมา ส่วนผู้ใช้ทั่วไปจะเห็นเฉพาะข้อมูลจากโปรแกรมประยุกต์ที่ก าหนดให้
เท่านั้น ไม่สามารถที่จะเห็นโครงสร้างของฐานข้อมูลที่ถูกออกแบบไว้ได้
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับภายใน (Internal
level หรือ Physical Level) ระดับแนวคิด (Conceptual Level) และระดับภายนอกหรือ
วิว (External Level หรือ View) ซึ่งเป็นรูปแบบและโครงสร้างที่ใช้กับระบบฐานข้อมูล
โดยทั่วไป สถาปัตยกรรมฐาน ข้อมูลในแต่ละระดับ จะมีระบบการจัดการฐานข้อมูลทา
หน้าที่ในการแปลงข้อมูลจากระดับหนึ่งไปสู่ระดับหนึ่ง
2.1 สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลระดับภายใน
เป็นระดับของฐานข้อมูลที่อยู่ใกล้กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เป็นระดับที่
อธิบายเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในเชิงกายภาพ ของฐานข้อมูลว่ามีรูปแบบ และ
โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลเป็นอย่างไร เป็นระดับที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจริง ซึ่งข้อมูลจะ
ถูกเก็บอยู่จริงในสื่อบันทึกข้อมูล มีโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการเข้าถึง
ข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการ ตามปกติแล้วผู้ใช้ทั่วไปจะไม่มีสิทธิ์
เข้ามายุ่งเกี่ยวในระดับนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ คือ ผู้เขียนโปรแกรม และผู้บริหาร
ฐานข้อมูล (Database Administrator, DBA)
2.2 สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลระดับแนวคิด
เป็นมุมมองของโครงร่างของฐานข้อมูลในแนวความคิด ไม่ใช่โครงร่างจริง
ที่สร้างขี้นมาในการเก็บอุปกรณ์ โครงร่างของฐานข้อมูลในระดับแนวคิด หรือระดับ
ตรรกะ (logical) เป็นระดับที่อยู่ถัดขึ้นมาจากระดับภายใน ที่มีการน าข้อมูลจาก
ฐานข้อมูลไปใช้งาน เป็นระดับของฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับ โครงสร้างฐานข้อมูล ชนิดของ
ข้อมูล ข้อกาหนดเกี่ยวกับข้อมูลและความสัมพันธ์ ของข้อมูล เป็นข้อมูลที่ผ่านการ
วิเคราะห์และออกแบบโดยผู้บริหารฐานข้อมูล หรือนักวิเคราะห์ และ ผู้ออกแบบ
ฐานข้อมูล เป็นระดับของข้อมูลที่ถูกออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลในระดับภายนอก
สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้
2.3 สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลระดับภายนอกหรือวิว
เป็นมุมมองของผู้ใช้ที่มีต่อฐานข้อมูล หรือที่เรียกกันว่าวิว เป็นระดับ
ฐานข้อมูลที่อยู่ใกล้กับโปรแกรมประยุกต์ และใกล้กับผู้ใช้มากที่สุด ผู้ใช้ภายนอกมี
สิทธิ์เข้าไปใช้ได้ เป็นระดับที่อธิบายเกี่ยวกับฐานข้อมูลที่ใช้งานร่วมกับโปรแกรม
ประยุกต์ การใช้งานระบบฐานข้อมูล ผู้ใช้จะถูกกาหนดสิทธิ์ในการ เพิ่ม ลบ แก้ไข
ข้อมูล โดยผู้ใช้แต่ละคนจะมองเห็นข้อมูลตามสิทธิ์ที่กาหนดไว้เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการ
รักษาความปลอดภัยและความมั่นคงให้กับฐานข้อมูล และยังท าให้การติดต่อกับ
ฐานข้อมูลท าได้ง่าย
3. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ท างานกับฐานข้อมูล (Database Language)
ภาษา SQL (Structured Query Language) เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสาหรับ
ใช้ในการจัดการ หรือ ใช้ในการติดต่อกับฐานข้อมูล เป็นภาษามาตรฐานบนระบบ
ฐานข้อมูลที่ใช้ในการสั่งให้ฐานข้อมูลกระทาการใด ๆ ตามคาสั่ง เช่นการสร้าง การ
แก้ไข การบารุงรักษา การจัดการ การควบคุม และการเข้าถึงฐานข้อมูล ภาษา SQL
เป็นภาษาที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เป็นที่ยอมรับโดย
ภาพที่ 2.1 สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลสามระดับตามมาตรฐาน ANSI
ข้อมูลกายภาพ
(Physical Data)
ระดับภายนอก
(External level)
ระดับภายใน
(Internal level)
ระดับแนวคิด
(conceptual level)
View 1
ผู้ใช้คนที่ 1
View 3
ผู้ใช้คนที่ 3
View 2
ผู้ใช้คนที่ 2
ฐานข้อมูล
(Database)
(
ภาพรวมแนวคิด
ภาพรวมภายใน
หน่วยงานมาตรฐาน เช่น ISO (International Standards Organization) และ ANSI
(American National Standards Institute) เช่นเดียวกับภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในการ
ติดต่อฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Access, SQL Server, MySQL, DB2 หรือ
Oracle ก็จะต้องใช้ค าสั่งภาษา SQL ในการควบคุม
ภาษา SQL เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ ระบบจัดการฐานข้อมูล มักพบใน
ฐานข้อมูล เชิงสัมพันธ์ (relational database) เป็นภาษาที่นิยมใช้กันมาก เพราะง่ายต่อ
การเรียนรู้ และในการใช้ภาษา SQL ผู้ใช้เพียงแค่รู้ว่าต้องการจะ “ทาอะไร” เท่านั้น
ไม่จาเป็นจะต้องทราบว่า “ทาอย่างไร” ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ได้นาภาษา SQL มาพัฒนา
ด้านระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จนเป็นที่นิยมกันอย่าแพร่หลายในปัจจุบัน
ตั้งแต่ระดับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปจนถึงระดับเมนเฟรม การใช้งานในภาษา
SQL แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ภาษา SQL ที่โต้ตอบได้ (Interactive SQL) และภาษา
SQL ที่ฝังในโปรแกรม (Embedded SQL)
ภาษา SQL สามารถนาไปใช้ได้ในหลายรูปแบบของธุรกิจ หรือองค์กรที่ใช้
เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database Technologies) ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในธุรกิจขนาด
ใหญ่ ธุรกิจขนาดเล็ก โรงพยาบาล ธนาคาร สถานศึกษา ซึ่งจริง ๆ แล้ว คอมพิวเตอร์
แทบจะทุกชนิดหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาต่าง ๆ จะมีโปรแกรมที่ใช้ภาษา SQL แทบ
ทั้งสิ้น เช่น โทรศัพท์แอนดรอยด์ (Android Phone) และไอโฟน (Iphone) รวมถึงโมบาย
แอพลิเคชั่น (Mobile Applications) ที่พัฒนาโดย Google, Skype และ Dropbox ก็ยังใช้
ภาษา SQL โดยตรงอีกด้วย
ใน ปีค.ศ. 1968 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน หรือ ANSI ได้ก าหนด
มาตรฐานของภาษา SQL ขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
3.1 ภาษาส าหรับการนิยามข้อมูล (Data Definition Language: DDL)
ภาษาส าหรับการนิยามข้อมูลหรือ ภาษา DDL ประกอบด้วยกลุ่มค าสั่ง เช่น
CREATE , ALTER และ DROP เป็นต้น ใช้ส าหรับก าหนดโครงสร้างของตารางใน
ฐานข้อมูล การกาหนดโครงสร้างข้อมูลว่าคอลัมน์ใด ประเภทข้อมูลเป็นประเภทใด
รวมทั้งการจัดการด้านการเพิ่ม การแก้ไข การลบ คอลัมน์ต่างๆ ในตารางข้อมูล
3.2 ภาษาส าหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language: DML)
ภาษาสาหรับการจัดการข้อมูล หรือ ภาษา DML ประกอบด้วยคาสั่ง เช่น
INSERT UPDATE และ SELECT เป็นต้น ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลภายในตารางใน
ฐานข้อมูลรวมถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น การลบข้อมูล และการเพิ่มเติมข้อมูล
3.3 ภาษาสาหรับการควบคุมข้อมูล (Data Control Language: DCL)
ภาษาส าหรับการควบคุมข้อมูล หรือ ภาษา DCL ประกอบด้วยค าสั่ง
GRANT และ REVOKE เป็นต้น ที่ใช้ในการควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ด้วยการก าหนดสิทธิของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน
ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนใหญ่แล้วจะมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ส่วนของ
ภาษา SQL พจนานุกรมข้อมูล โปรแกรมอ านวยความสะดวก โปรแกรมช่วยใน
การสร้างโปรแกรมประยุกต์ และโปรแกรมช่วยจัดทารายงาน ฐานข้อมูล แต่ละตัวจะมี
คุณสมบัติในการทางานที่แตกต่างกัน การที่จะพิจารณาว่าจะเลือกใช้ ระบบจัดการ
ฐานข้อมูล ตัวใดนั้นจะต้องพิจารณาคุณสมบัติของ ระบบจัดการฐานข้อมูล แต่ละตัว
ว่ามีความ สามารถตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ประเด็นในเรื่องราคาก็เป็นเรื่องสาคัญ
เช่นกัน เพราะราคาของ ฐานข้อมูล แต่ละตัวไม่เท่ากัน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึง
ความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการที่มีอยู่ด้วย
ภาพที่ 2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับระบบจัดการฐานข้อมูล
(ที่มา : http://www.9experttraining.com/articles/)
4. ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ DBMS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึงซอฟท์แวร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล
โดยอานวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข การเข้าถึง
ข้อมูล และการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลทางกายภาพ ( Physical File
Organization)
หน้าที่ระบบจัดการฐานข้อมูลหลัก ๆ คือการเก็บข้อมูลลงไว้ในฐานข้อมูล และ
การดึงข้อมูลเหล่านั้นออกมาจากฐานข้อมูล ที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สะดวกสบาย ทาให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจในความถูกต้อง สอดคล้องกัน (Consistency)
ของข้อมูลต่าง ๆ ภายในฐานข้อมูล สามารถสรุปหน้าที่หลักของระบบจัดการฐานข้อมูล
ได้ดังนี้
4.1 การจัดการพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary Management)
พจนานุกรมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการจัดเก็บ
รายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด หรือที่เรียกกันว่า meta data ไว้อย่างเป็นระบบ เมื่อมี
การเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล ๆ จะทาการค้นหาโครงสร้างข้อมูลและรายละเอียดของ
ข้อมูลนั้น ๆ ในพจนานุกรมข้อมูลนี้ก่อนและใช้ข้อมูลนี้ในการเข้าถึงข้อมูลจริง ถ้ามี
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ เกิดขึ้นกับข้อมูลในฐานข้อมูล ก็จะมีการปรับปรุง
พจนานุกรมข้อมูลนี้ด้วย
4.2 การจัดการเก็บข้อมูลและการแปลงข้อมูล (Data Storage Management
and Transformation)
ระบบจัดการฐานข้อมูล จะท าหน้าที่จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบจัด
หมวดหมู่ข้อมูลและแปลงคาสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบ
ที่ฐานข้อมูลเข้าใจ ซึ่งจะท าให้ผู้จัดเก็บท างานได้สะดวกมากขึ้น และป้องกันความ
ผิดพลาดได้
4.3 การจัดการด้านความปลอดภัย (Security Management)
ระบบฐานข้อมูลที่มีการใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันจะสร้างระบบรักษา
ความปลอดภัยของข้อมูล โดยก าหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าใช้ระบบ ระบบจัดการ
ฐานข้อมูล จัดการเรื่องนี้โดยการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้งานแต่ละคนไว้ใน
พจนานุกรมข้อมูล เช่น มีใครบ้างที่สามารถเข้ามาใช้งานฐานข้อมูลได้ มีรหัสผ่าน
อย่างไร สามารถใช้งานได้ในระดับใด ด้วยวิธีการดังกล่าวจะทาให้มั่นใจได้ว่าเมื่อมีผู้ใช้
หลาย ๆ คนเข้าถึงข้อมูลพร้อมกัน จะยังคงความถูกต้องของข้อมูลในฐานข้อมูลได้
4.4 การจัดการความคงสภาพของข้อมูล (Data Integrity Management)
เนื่องจากมีการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในพจนานุกรม
ข้อมูลทั้งหมด การบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลใด ๆ แต่ละครั้ง ระบบจัดการฐานข้อมูล จะ
ทาการตรวจสอบและยอมรับให้มีการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลนั้นในขอบเขตที่ก าหนด
ฐานข้อมูล
(Database)
4.5 การจัดการส ารองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล (Backup and Recovery
Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูล จะมีโปรแกรมหรือเครื่องมืออานวยความสะดวก
ให้กับฐานข้อมูลเพื่อช่วยในการสารองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล เพื่อควบคุมความ
ปลอดภัยหรือความมั่นคงและความคงสภาพของข้อมูล
4.6 ภาษาที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์
ระบบการจัดการฐานข้อมูลสนับสนุนหรือเลือกเส้นทางการเข้าถึงข้อมูล
โดยผ่านภาษาสาหรับสอบถาม ซึ่งเป็นภาษาหรือคาสั่งเข้าใจง่ายในการค้นคืนข้อมูล
จากฐานข้อมูล
4.7 การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หลายคน (Multi User Access
Management)
ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะใช้หลักการออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสม
เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน โดย
ไม่ท าให้เกิดความขัดข้องของข้อมูลและข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์
ภาพที่ 2.3 โครงสร้างระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) และระบบปฏิบัติการ (OS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล
(DBMS)
(
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
ระบบปฏิบัติการ
(OS)
ระบบปฏิบัติการ
(OS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล
(DBMS)
4.8 การติดต่อสื่อสารกับฐานข้อมูล (Database Communication)
ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะต้องสนับสนุนการใช้งาน
ฐานข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเขียนค าสั่งด้วย
โปรแกรมที่ทางานบน Website เช่น Browser ของ Internet Explorer เป็นต้น
4.9 การพัฒนาระบบงานได้รวดเร็ว (High Productivity Tools)
ระบบการจัดการฐาน ข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบงานได้
รวดเร็วในเวลาอันสั้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในพัฒนาได้ แต่อาจจะไม่ลดค่าใช้จ่ายในการ
บารุงรักษา
5. แบบจาลองระบบฐานข้อมูล (Database Models)
แบบจาลองระบบฐานข้อมูล เป็นการนาแนวคิดต่าง ๆ มาเสนอให้เกิดเป็น
แบบจาลองเพื่อนาเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจ
ได้ง่าย และเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบฐานข้อมูลกับผู้ใช้ให้ตรงกัน
ปัจจุบันสามารถแบ่งแบบจ าลองระบบฐานข้อมูล ออกได้ ดังนี้
5.1 แบบจาลองฐานข้อมูลแบบล าดับชั้น (Hierarchical Model)
เป็นแบบจาลองฐานข้อมูลที่นาเสนอข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่าง
ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree Structure) ที่มีการสืบทอดแบบ
เป็นล าดับชั้น เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก เป็น
ระบบฐานข้อมูลทีลักษณะโครงสร้างเข้าใจได้ง่าย ระบบโครงสร้างมีความซับซ้อนน้อย
แต่มีข้อเสีย เช่น มีความยืดหยุ่นน้อย ยากต่อกการพัฒนาเพราะการปรับโครงสร้าง
ของต้นไม้ ค่อนข้างยุ่งยาก มีโอกาสเกิดความซ้าซ้อนมาก และถ้าข้อมูลมีจานวนมาก
การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงที่ต้นกาเนิดของ
ข้อมูล เป็นสถาปัตยกรรมข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว
5.2 แบบจ าลองฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Model)
ลักษณะแบบจาลองฐานข้อมูลแบบเครือข่ายนี้ โครงสร้างของข้อมูลแต่
ละแฟ้ม ข้อมูลมีความสัมพันธ์คล้ายร่างแห สามารถเชื่อมโยงข้อมูลแบบไป-กลับ ได้
ทาให้สะดวกในการค้นหามากกว่าแบบจาลองแบบลาดับชั้น เพราะไม่ต้องไปเริ่มค้นหา
ตั้งแต่ข้อมูลต้นกาเนิดโดยทางเดียว และการค้นหาข้อมูลมีเงื่อนไขได้มาก และกว้าง
กว่า ช่วยลดความซ้าซ้อนของข้อมูลได้ ปัจจุบันยังคงมีการใช้งานกับคอมพิวเตอร์
ระบบเมนเฟรม
- รายละเอียด
- เขียนโดย: สุรพงษ์ จ๋าก๋าง
- หมวด: การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ฮิต: 377
การจัดการฐานข้อมูล(Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ําซ้อนของข้อมูลรวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ในอดีตการเก็บข้อมูลมักจะเป็นอิสระต่อกันไม่มีการ
เชื่อมโยงของข้อมูลเกิดการ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล เช่น องค์การหนึ่งจะมีแฟ้มบุคคล (Personnel) แฟ้มเงินเดือน (Payroll) และแฟ้ม สวัสดิการ (Benefits) อยู่แยกจากกัน เวลาผู้บริหารต้องการข้อมูลของพนักงานท่านใดจําเป็นจะต้องเรียกดูแฟ้มข้อมูลทั้ง 3 แฟ้ม ซึ่งเป็นการไม่สะดวก จงทําให้เกิดแนวความคิดใน
การรวมแฟ้มข้อมูลทั้ง 3เข้าด้วยกันแล้วเก็บไว้ที่ ศูนย์กลางในลักษณะฐานข้อมูล (Database) จึงทําให้เกิดระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management system (DBMS) ซึ่งจะต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะในการสร้างและบํารุงรักษา (Create and Maintenance) ฐาน ข้อมูลและสามารถที่จะให้ผู้ใช้ประยุกต์ใช้กับ
ธุรกิจส่วนตัวได้โดยการดึงข้อมูล (Retrieve) ขึ้นมาแล้วใช้โปรแกรมสําเร็จรูปอื่นสร้างงานขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูล แสดงการรวมแฟ้มข้อมูล 3 แฟ้มเข้าด้วยกัน โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
- บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
- ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนําบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
- เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกัน
แล้วไดความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
- ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนําเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมา
รวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจําตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
- แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนําข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่อง
เดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน
- ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนํามาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
-ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
-ซอฟท์แวร์ (Software)
-ข้อมูล (Data)
-ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator)
-โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
-ผู้ใช้ (End User)
ข้อดีของระบบฐานข้อมูล
-ลดความยุ่งยาก คือ ดําเนินการยาก
-ลดความซับซ้อน คือ มีหลายขั้นตอน
ข้อเสียของระบบฐานข้อมูล
-มีค่าใช้จ่ายสําหรับฮาร์ดแวร์
-มีค่าใช้จ่ายสําหรับซอฟท์แวร์
-มีค่าใช้จ่ายสําหรับผู้เชี่ยวชาญ
การจัดการข้อมูล
การจัดการข้อมูล (Data management) ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
โดยการสังเกต การจดบันทึก การสัมภาษณ์และการออกแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้มานั้นยังคงเป็นข้อมูลดิบ ไม่
สามารถที่จะนํามาใช้ในการตัดสินใจในการกระทําในเชิงการจัดการและข้อมูลที่รวบรวมมามักจะไม่มีการจัด
ระเบียบอาจจะมีการซ้ําซ้อนของข้อมูลหรือข้อมูลชนิดเดียวกันอาจจะขัดแย้งกันก็ได้ ดังนั้นองค์การจะต้องมี
การวางแผนในการจัดการบริหารฐาน ข้อมูลที่ดีจึงจะได้ประโยชน์จากข้อมูลที่จัดเรียบเรียงไว้
การจัดการแฟ้มข้อมูล
การจัดการแฟ้มข้อมูล (File Management) ในอดีตข้อมูลที่จัดเก็บไว้จะอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอิสระ
(Conventional File) ซึ่งระบบงานแต่ละระบบก็จะสร้างแฟ้มของตนเองขึ้นมาโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น
ระบบบัญชี ที่สร้างแฟ้มข้อมูลของตนเอง ระบบพัสดุคงคลัง (Inventory) ระบบการจ่ายเงินเดือน(Payroll)
ระบบออกบิล (Billing) และระบบอื่นๆต่างก็มีแฟ้มข้อมูลเป็นของตนเอง หากมีการปรับปรุงแก้ไขก็จะทํา
เฉพาะส่วนจึงทําข้อมูลขององค์การ บางครั้งเกิดสับสนเนื่องจากข้อมูลขัดแย้งกันและในบางองค์การอาจจะมี
การเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาที่เขียนที่ต่างกัน เช่นภาษาโคบอล (COBOL language) ภาษาอาร์พีจี(RPG)
ภาษาปาสคาล (PASCAL) หรือภาษาซี (C language) ซึ่งมีลักษณะของแฟ้มข้อมูลที่สร้างด้วยภาษาที่ต่างกันก็
ไม่สามารถจะใช้งานร่วมกันได้ จึงทําให้องค์การเกิดการสูญเสียในข้อมูล ดังนั้นก่อนที่องค์การจะนํา
คอมพิวเตอร์มาใช้จะต้องมีการวางแผนถึงระบบการบริหารแฟ้มข้อมูล
ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type)
เราสามารถจําแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูล
ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สําคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า
(Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file)
แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่ง
แฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
2. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการ
เปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนําไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่
ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
การออกแบบฐานข้อมูล
การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสําคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS)
ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการ
เข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้าง
ฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ
เป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์
(attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็น
รูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับ
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กัน
จะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดง
ความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลําดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลําดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-
Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ
ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ประเภทของระบบฐานข้อมูล
การแบ่งประเภทของระบบฐานข้อมูลมีการแบ่งออกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทที่นํามาจําแนก
ในบทเรียนนี้จะแบ่งประเภทของระบบฐานข้อมูลออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ตามชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1.แบ่งตามจํานวนของผู้ใช้
การแบ่งโดยใช้จํานวนผู้ใช้เป็นหลัก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.1 ผู้ใช้คนเดียวเป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้ภายในองค์กรขนาดเล็ก เช่น ระบบ Point of sale ของ
ร้านสะดวกซื้อ หรือระบบบัญชีของร้านเล็ก ๆ ทั่วไป เป็นต้น มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวและผู้ใช้
เพียงคนเดียว ไม่มีการแบ่งฐานข้อมูลร่วมกันใช้กับผู้อื่น ถ้าผู้ใช้คนอื่นต้องการใช้ระบบนี้จะต้องรอให้ผู้ใช้คน
แรกเลิกใช้ก่อนจึงจะใช้ได้
1.2 ผู้ใช้หลายคน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ๆ ได้แก่ ผู้ใช้เป็นกลุ่ม หรือ Workgroup
database และประเภทฐานข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่หรือ Enterprise database
ผู้ใช้เป็นกลุ่ม เป็นฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้หลายกลุ่มหรือหลายแผนก และแต่ละกลุ่มอาจมีผู้ใช้หลายคน มีการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันหรืออาจจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันก็ได้ แต่จะอยู่ในองค์กรเดียวกันเท่านั้น
องค์การขนาดใหญ่ เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาหลายสาขา ทั้งในประเทศหรือมี
สาขาในต่างประเทศ จะใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มีระบบสํารอง การรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี
2. แบ่งโดยใช้ขอบเขตของงาน
การแบ่งโดยใช้ขอบเขตของงาน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเภทผู้ใช้คนเดียว ประเภทผู้ใช้เป็น
กลุ่มและประเภทองค์การขนาดใหญ่ ดังได้กล่าวรายละเอียดในตอนต้นแล้ว
3. แบ่งตามสถานที่ตั้ง
การแบ่งตามสถานที่ตั้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเภท ศูนย์กลาง และประเภทกระจายทั้ง
สองประเภทมีรายละเอียดดังนี้
3.1 ประเภทศูนย์กลาง เป็นระบบฐานข้อมูลที่นําเอามาเก็บไว้ในตําแหน่งศูนย์กลาง ผู้ใช้ทุกแผนก
ทุกคนจะต้องมาใช้ข้อมูลร่วมกัน ตามสิทธิ์ของผู้ใช้แต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน
3.2 ประเภทกระจาย เป็นระบบฐานข้อมูลที่เก็บฐานข้อมูลไว้ ณ ตําแหน่งใด ๆ ของแผนก และแต่
ละแผนกใช้ฐานข้อมูลร่วมกันโดยผู้มีสิทธิ์ใช้ตามสิทธิ์ที่ได้กําหนดจากผู้มีอํานาจ การเข้าถึงข้อมูล เช่น
ฐานข้อมูลของฝ่ายบุคคลเก็บไว้ที่แผนกทรัพยากรบุคคล ยอมให้ฝ่ายบัญชีนํารายชื่อของพนักงานไปใช้ร่วมกับ
ฐานข้อมูลการจ่ายโบนัส และในขณะเดียวกันฝ่ายบัญชีมีฐานข้อมูลเก็บเงินเดือน สวัสดิการและรายจ่ายต่าง ๆ
ของพนักงานเพื่อให้แผนกอื่นๆ เข้ามาใช้ได้เช่นกัน
4. แบ่งตามการใช้งาน
การแบ่งตามการใช้งานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลสําหรับงานประจําวัน ฐานข้อมูลเพื่อ
ใช้ในการตัดสินใจ และเพื่อเป็นคลังข้อมูล
4.1 ฐานข้อมูลสําหรับงานประจําวัน เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในงานประจําวันของพนักงานระดับ
ปฏิบัติการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ เช่น งานสินค้าคงคลัง งานระบบซื้อมาขายไป สําหรับร้านสะดวกซื้อ หรือ
ระบบงานขายของร้านค้าทั่วไป เป็นต้น ฐานข้อมูลประเภทนี้มีการนําข้อมูลเข้า เปลี่ยนแปลงและลบออกตลอด
ทั้งวัน จึงทําให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
4.2 ฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ระบบฐานข้อมูลประเภทนี้มีไว้เพื่อใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ
ของผู้ใช้ระดับผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป ข้อมูลที่นําเข้ามาในระบบได้จากการป้อนข้อมูลงานประจําวันของ
ฐานข้อมูลสําหรับงานประจําวัน ส่วนใหญ่ฐานข้อมูลประเภทนี้นําไปใช้ในงานวางแผนกลยุทธ์ในองค์กร
4.3 ฐานข้อมูลเพื่อเป็นคลังข้อมูล ฐานข้อมูลประเภทนี้เกิดจากการนําข้อมูลเข้ามาในระบบทุก ๆ
วันจึงทําให้เกิดมีข้อมูลขนาดใหญ่ จึงนําเอาข้อมูลที่มีประโยชน์มาสร้างฟังก์ชันหรือสมการต่างเพื่อประมวลผล
หาผลลัพธ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์กับองค์กร
หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบฐานการจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องทําหน้าที่แก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์ ไม่คงเส้นคงวาของ
ข้อมูลและทําให้ข้อมูลมีความถูกต้องไม่ขัดแย้งกันได้ จึงต้องมีหน้าที่ให้ครอบคลุมหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
1.หน้าที่จัดการพจนานุกรมข้อมูล
ในการออกแบบฐานข้อมูลโดยปกติ ผู้ออกแบบได้เขียนพจนานุกรมข้อมูลในรูปของเอกสารให้กับ
โปรแกรมเมอร์ โปรแกรมเมอร์จะใช้ซอฟต์แวร์ระบบการจัดการฐานข้อมูลสร้างพจนานุกรมข้อมูลต่อไป และ
สามารถกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตาราง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล จําเป็นต้องเปลี่ยนที่
พจนานุกรมข้อมูลด้วย โปรแกรมเมอร์สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลได้ทันที ต่อจากนั้นจึงให้
พจนานุกรมข้อมูลพิมพ์รายงาน พจนานุกรมข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วเป็นเอกสารได้เลยทันที่ โดยไม่ต้อง
แก้ไขที่เอกสาร
2.หน้าที่จัดการแหล่งจัดเก็บข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะไม่ทําหน้าที่เพียงจัดการแหล่งจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังเพิ่มหน้าที่ที่
เกี่ยวกับการสร้างฟอร์มป้อนข้อมูลเข้าหรือกําหนดแบบจอภาพ แบบรายงาน หรือแม้แต่การตรวจสอบข้อมูล
นําเข้าว่าถูกต้องหรือไม่ และจัดการเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
3.การเปลี่ยนรูปแบบและการแสดงผลข้อมูล
การเปลี่ยนรูปแบบและการแสดงผลข้อมูล เป็นหน้าที่สําหรับเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไปเป็นโครงสร้างข้อมูล
จะจัดเก็บ ซึ่งอยู่ในมุมมองทางกายภาพ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ระบบจัดการฐานข้อมูลทําข้อมูลให้เป็นอิสระ
จากโปรแกรมประยุกต์ได้
4.จัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลทําหน้าที่รักษาความมั่นคง ความปลอดภัยของข้อมูล การไม่ยินยอมเข้าถึงข้อมูลจาก
ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปใช้ฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานข้อมูลประเภทผู้ใช้หลายคน นอกจากนี้ยังสามารถ
กําหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้แต่ละคนใช้คําสั่ง เพิ่ม หรือลบ ปรับปรุงข้อมูลได้เป็นรายคนหรือรายกลุ่ม
5.ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้
การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เป็นการทําหน้าที่ให้ผู้ใช้เข้าใช้ได้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกันโดยไม่ทําให้เกิด
ขัดข้องของข้อมูล ซึ่งจะเน้นกฎความสมบูรณ์ของข้อมูลและการใช้ข้อมูลพร้อมกัน
6.สํารองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล
การสํารองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล เป็นหน้าที่ที่จําเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลมั่นใจว่าข้อมูลที่
จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้เสียหาย ยังมีความสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ผู้ใช้ที่เป็นผู้บริหารฐานข้อมูล
สามารถใช้คําสั่งสํารองข้อมูลและคําสั่งกู้คืนข้อมูลได้
7.จัดการด้านบูรณภาพของข้อมูล
เป็นข้อกําหนดให้มีกฎความสมบูรณ์เป็นบูรณภาพ โดยจะให้มีข้อมูลที่ซ้ําซ้อนกันให้น้อยที่สุด แต่ให้มีความ
ถูกต้องตรงกันให้มากที่สุด เพราะในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะมีหลาย ๆ ตารางที่สัมพันธ์กันตารางที่
เกี่ยวข้องกันจะขัดแย้งกันไม่ได้
8.เป็นภาษาสําหรับจัดการข้อมูลและจัดสร้างส่วนประสานกับผู้ใช้
ระบบจัดการฐานข้อมูลจัดให้มีภาษาสําหรับสอบถาม เป็นภาษาที่เขียนเข้าใจง่ายไม่เหมือนภาษาชั้นสูง
ประเภท Procedural ทั่วไป ทําให้ผู้เขียนโปรแกรมภาษาระดับสูงเขียนคําสั่งเข้าไปสอบถามข้อมูลหรือ
ประมวลผลสารสนเทศได้ตามต้องการ
9.เป็นส่วนประสานกับผู้ใช้ในด้านการสื่อสารฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลสมัยใหม่จะสนับสนุนการทํางานแบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
เขียนคําสั่งด้วยโปรแกรมที่ทํางานบน www เช่น browser ของ Internet Explorer หรือ Netscape เป็นต้น
ความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งมี 3 ชนิด ดังนี้
1. แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียง
หนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น อธิการบดีมีหน้าที่บริหารมหาวิทยาลัยเพียงมหาวิทยาลัยเดียวและในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ
จะมีอธิการบดีบริหารงานในขณะนั้น ๆ เพียงคนเดียวเช่นกัน
2. แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มี
เพียงหนึ่งกับอีกด้านหนึ่งเป็นกลุ่ม เช่น สมาชิกผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้หลาย ๆ ครั้งและการ
บริจาคนั้นบริจาคโดยสมาชิกคนเดียว
3. แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีได้
หลาย ๆ อย่าง เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ รายวิชาและในแต่ละรายวิชามีนักศึกษา
ลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ คน
ระบบการจัดการฐานข้อมูล จะมีส่วนประกอบที่สําคัญ 3 ส่วนได้แก่
1. ภาษาคํานิยามของข้อมูล [Data Definition Language (DDL)] ในส่วนนี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบ
ของระบบการจัดการฐาน ข้อมูลว่าข้อมูลแต่ละส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง (Data element) ในฐานข้อมูลซึ่ง
เป็นภาษาทางการที่นักเขียนโปรแกรมใช้ในการ สร้างเนื้อหาข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลก่อนที่ข้อมูลดังกล่าวจะ
ถูกแปลงเป็นแบบฟอร์มที่สต้องการของโปรแกรมประยุกต์หรือในส่วนของ DDL จะประกอบด้วยคําสั่งที่ใช้ใน
การกําหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์อะไร แต่ละคอลัมน์เก็บข้อมูลประเภทใด รวมถึงการเพิ่มคอลัมน์ การ
กําหนดดัชนี เป็นต้น
2. ภาษาการจัดการฐานข้อมูล (Data Manipulation Language (DML) เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้ในการ
จัดการระบบฐานข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมโปรแกรมภาษาในยุคที่สามและยุคที่สี่เข้าด้วยกันเพื่อจัดการ
ข้อมูลในฐานข้อมูลภาษานี้มักจะประกอบด้วยคํา สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถสร้างโปรแกรมพิเศษขึ้นมา รวมถึง
ข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันที่นิยมใช้ ได้แก่ ภาษา SQL(Structure Query Language) แต่ถ้าหากเป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ DBMS มักจะสร้างด้วยภาษาโคบอล (COBOL language) ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN)
และภาษาอื่นในยุคที่สาม
3. พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เป็นเครื่องมือสําหรับการเก็บและการจัดข้อมูลสําหรับการ
บํารุงรักษาในฐานข้อมูล โดยพจนานุกรมจะมีการกําหนดชื่อของสิ่งต่างๆ (Entity) และระบุไว้ในโปรแกรม
ฐานข้อมูล เช่น ชื่อของฟิลด์ ชื่อของโปรแกรมที่ใช้รายละเอียดของข้อมูล ผู้มีสิทธิ์ใช้และผู้ที่รับผิดชอบ แสดง
ส่วนประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูล
อุปสรรคในการพัฒนาระบบข้อมูล
1 ความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลเข้าย่อมมีผลกระทบกับหน่วยงานอื่นทีนําข้อมูลนั้นไปใช้เนื่องจาก
ไม่มี ข้อมูลอื่นที่มาเทียบกับข้อมูลในฐานข้อมูลชุดนั้น
2. สร้างแฟ้มข้อมูลร่วมเพื่อตอบสนองกับองค์การ ทุกแผนกกระทําได้ยากเนื่องจากแต่ละแผนกอาจจะ
ต้องการได้ข้อมูลในความละเอียดที่ไม่เท่ากัน ผู้จัดการระดับล่างต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการทํางานวันต่อวัน แต่
ผู้บริหารระดับสูงต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผน ดังนั้นการออกแบบฐานข้อมูลจึงทําได้ยากมาก
3. ในเรื่องของความปลอดภัยทั้งนี้เนื่องจากทุกแผนกมีการใช้ข้อมูลร่วมกันจึงต้องมีการสร้างระบบ
ป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล จะต้องมีการกําหนดรหัสผ่าน (Password) และการ
จัดลําดับความสําคัญของงาน (Priority) รวมถึงการกําหนดสิทธิ์ในการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งเป็นการ
ยุ่งยากสําหรับการใช้ฐาน ข้อมูลร่วมกัน ไม่เหมือนกับระบบเดิม ทุกแผนกมีสิทธิ์ใช้ เครื่องของตนเองได้เต็มที่ มี
อิสระในการตัดสินใจ
ส่วนข้อดีในการจัดการฐานข้อมูล
1 ลดความยุ่งยากของข้อมูลภายในองค์การโดยรวมข้อมูลไว้ที่จุดหนึ่งและผู้ควบคุมดูแลการใช้ข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูล การนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์และดูแลความปลอดภัย
2. ลดการซ้ําซ้อนของข้อมูล (Redundancy) ในกรณีที่ข้อมูลอยู่เป็นเอกเทศ
3. ลดความสับสน (Confusion) ของข้อมูลภายในองค์การ
4. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมและการบํารุงรักษาภายหลังจากระบบสมบูรณ์แล้วจะลดลงเมื่อ
เทียบกับแบบเก่า
5. มีความยืดหยุ่นในการขยายฐานข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขทําได้ง่ายกว่า
6. การเข้าถึงข้อมูลและความสะดวกในการใช้สารสนเทศมีเพิ่มขึ้น
- รายละเอียด
- เขียนโดย: สุรพงษ์ จ๋าก๋าง
- หมวด: การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ฮิต: 807
โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation)
Microsoft Power Point
วิธีที่ 1 : คลิกแท็บ VIEW (มุมมอง) แล้วไปที่กลุ่มคำสั่ง Presentation Views (มุมมองการนำเสนอ) จากนั้นให้คลิกปุ่มเพื่อกำหนดมุมมองตามต้องการ
วิธีที่ 2 : คลิกปุ่มกำหนดมุมมองที่แท็บมุมมองสไลด์ (View Shortcuts)
โดยแต่ละมุมมองจะเหมาะสำหรับการทำงานที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
Normal (ปกติ)
เหมาะสำหรับใช้ในการป้อนข้อมูล ออกแบบ หรือแก้ไขพรีเซนเตชั่น โดยทางด้านซ้ายจะมีหน้าต่างแสดงรูปตัวอย่างสไลด์ (Thumbnails Pane) ของสไลด์แต่ละแผ่นดังรูป
Outline View (มุมมองเค้าร่าง)
มุมมองนี้ก็เหมาะสำหรับใช้ป้อนข้อมูล ออกแบบ หรือแก้ไขพรีเซนเตชั่นเช่นกัน แต่จะต่างจากมุมมองปกติ (Normal) ตรงที่ทางด้านซ้ายจะมีหน้าต่างแสดงข้อความบนสไลด์แต่ละแผ่น (Outline Pane) เวลาจะดูสไลด์แผ่นไหนก็ให้คลิกปุ่มตรงหมายเลขสไลด์ดังรูป
Slide Sorter (ตัวเรียงลำดับสไลด์)
มุมมองนี้เหมาะสำหรับใช้ในการจัดเรียงสไลด์ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องอการย้าย ตัด คัดลอก หรือจัดลำดับสไลด์ใหม่ งานของคุณจะเสร็จอย่างง่ายดายถ้าเปลี่ยนมาใช้มุมมองนี้
Notes Page (หน้าบันทึกย่อ)
มุมมองนี้ใช้สำหรับแสดงโน้ตย่อของสไลด์แต่ละแผ่น หากใครต้องการดูรายละเอียด หรือแก้ไขโน้ตย่อของสไลด์แผ่นไหน ขอแนะนำให้ใช้มุมมองนี้จะสะดวกที่สุด
Reading View (มุมมองการอ่าน)
มุมมองนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เราต้องการดูตัวอย่าง หรือตรวจสอบพรีเซนเตชั่นควบคู่ไปกับการดูไฟล์อื่น แต่ก่อนที่จะเปิดมุมมองนี้ ขอนะนำให้ย่อหน้าต่าง PowerPoint ให้มีขนาดเล็กลงก่อน หน้าต่างของแต่ละไฟล์จะได้ไม่บังกัน
Slide Show (การนำเสนอสไลด์)
มุมมองนี้เป็นมุมมองที่ใช้สำหรับฉายพรีเซนเตชั่น โดยเวลาจะฉายก็ให้คลิกที่ปุ่ม ตรงแท็บมุมมองสไลด์ (View Shortcuts) ดังรูป
สำหรับการเปิดไฟล์งานนำเสนอในโปรแกรมสามารถเปิดได้หลาย ๆ ไฟล์พร้อมกันเพื่อสะดวกในการใช้งาน ซึ่งคำสั่งที่ใช้สำหรับการจัดการหรือควบคุมหน้าต่างไฟล์งานนำเสนอนั้นจะใช้คำสั่งในแท็บ มุมมอง ในกลุ่มคำสั่ง หน้าต่าง ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ของปุ่มคำสั่งมีดังนี้
หน้าต่างใหม่
เป็นการสร้างหน้าต่างไฟล์งานนำเสนอที่เปิดใช้งานอยู่ขึ้นมาเป็นไฟล์อีกหนึ่งไฟล์ หรือเป็นการคัดลอกไฟล์นั่นเอง
จัดเรียงทั้งหมด
เป็นการจัดเรียงหน้าต่างแฟ้มงานนำเสนอทั้งหมดที่เปิดใช้งานให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ทั้งหมด
แบบเรียงซ้อน
สลับหน้าต่าง
การปรับขนาดมุมมอง
ในการสร้างพรีเซนเตชั่นเราควรปรับขนาดสไลด์ให้เหมาะสม เพื่อความสะอาดในการทำงาน โดยการปรับขนาดสไลด์สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
การใช้ Zoom Slider
วิธีนี้เป็นการปรับขนาดการแสดงผลของสไลด์โดยการใช้ Zoom Slider ที่อยู่ตรงด้านล่างของหน้าต่าง PowerPoint ดังรูป
โดยการปรับขนาดสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 : คลิกปุ่ม Zoom Out (ปุ่ม - ) เพื่อย่อสไลด์ หรือคลิกปุ่ม Zoom In (ปุ่ม + ) เพื่อขยายสไลด์
วิธีที่ 2 : คลิกเมาส์ค้างที่แท่งสเกลบน Zoom Slider แล้วเลื่อนไปทางซ้ายเพื่อย่อสไลด์ หรือเลื่อนไปทางขวาเพื่อขยายสไลด์
วิธีที่ 3 : คลิกปุ่ม Zoom Level แล้วกำหนดขนาดสไลด์ตามต้องการ
การปรับขนาดด้วยคำสั่ง Zoom
วิธีนี้จะเป็นการปรับขนาดในลักษณะเดียวกับการใช้ปุ่ม Zoom Level ที่ Zoom Slider โดยมีขั้นตอน ดังนี้
นอกจากนี้ยังสามารถคลิกที่ปุ่ม เพื่อให้ภาพนิ่งปรับขนาดให้พอดีกับหน้าต่างของงานนำเสนอ
การเริ่มสร้างภาพนิ่ง
ในกรณีที่ผู้เรียนสร้างงานนำเสนอใหม่และต้องการสร้างภาพนิ่งขึ้นมาใช้เอง คือ เป็นการเพิ่มภาพนิ่งเข้าไปในงานนำเสนอในตำแหน่งที่ต้องการ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการสร้างภาพนิ่ง
1. คลิกแท็บ หน้าแรก บน Ribbon
2. ในกลุ่มคำสั่ง สไลด์ ให้คลิกปุ่มคำสั่ง สไลด์ใหม่ จะปรากฏกรอบคำสั่งให้เลือกรูปแบบย่อยของภาพนิ่ง ซึ่งจะมีต้นแบบต่าง ๆ ให้เลือก เช่น ภาพนิ่งชื่อเรื่อง , ชื่อเรื่องและเนื้อหา ซึ่งภายในภาพนิ่งที่สร้างจะมีรูปแบบตามรูปแบบย่อยที่เป็นตัวอย่างที่ให้มาในสไลด์ ซึ่งผู้เรียนสามารถใส่เนื้อหา หรือ รูปภาพตามต้นแบบที่เลือกได้ทันที
การใส่ข้อความในมุมมองปกติ
หลังจากที่ผู้เรียนได้สร้างภาพนิ่งจากรูปแบบที่เลือกได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการใส่ข้อความและส่วนอื่น ๆ ตามที่เลือกรูปแบบลงในสไดล์ สำหรับในขั้นตอนนี้จะเป็นการใส่ข้อความในสไลด์หรือกล่องข้อความที่เลือก โดยการทำงานกับข้อความต่าง ๆ จะทำในมุมมองปกติ ซึ่งเป็นมุมมองที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับสร้างและตกแต่งข้อความ โดยวิธีการใส่ข้อความมีดังนี้
เมื่อผู้เรียนได้ทำการพิมพ์ข้อความในกล่องข้อความตามต้องการแล้วและต้องการตกแต่งแบบอักษร ให้คลิกเมาส์ที่กล่องข้อความที่ต้องการตกแต่งแบบอักษร จากนั้นคลิกแท็บ หน้าแรก บน Ribbon ในกลุ่มคำสั่ง แบบอักษร สามารถทำการตกแต่งแบบอักษรได้ทั้งหมด เช่น สีตัวอักษร , ลักษณะแบบอักษร , ชนิดของแบบอักษร เป็นต้น
การเปลี่ยนรูปแบบภาพนิ่ง
หลังจากที่ได้สร้างภาพนิ่งและเลือกรูปแบบย่อยตามที่ต้องการบนงานนำเสนอแล้ว และต้องการจะเปลี่ยนรูปแบบของภาพนิ่งเป็นรูปแบบอื่น ๆ ก็สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้เช่นเดียวกัน ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. คลิกที่ภาพนิ่งที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบ
2. คลิกแท็บ หน้าแรก บน Ribbon
3. ในกลุ่มคำสั่ง สไลด์ ให้คลิกปุ่มคำสั่ง เค้าโครง จะปรากฏกรอบคำสั่งให้เลือกรูปแบบย่อยของภาพนิ่ง ให้เลือกรูปแบบของภาพนิ่งที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบจากแบบเดิม
การคัดลอกภาพนิ่ง
สำหรับการคัดลอกภาพนิ่งนี้จะเป็นเพิ่มภาพนิ่งขึ้นมาอีกหนึ่งภาพนิ่ง ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพนิ่งทั้งหมดที่อยู่ในภาพนิ่งจะถูกคัดลอก เป็นภาพนิ่งใหม่และภาพนิ่งเดิมก็จะยังคงอยู่เช่นเดียวกัน โดยการคัดลอกภาพนิ่งจะทำให้ผู้เรียนสร้างงานนำเสนอ ในภาพนิ่งใหม่ที่ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ต้องสร้างภาพนิ่ง ใหม่เพียงแต่เปลี่ยนรายละเอียดเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น สำหรับการคัดลอกภาพนิ่งนี้ผู้เรียนสามารถทำได้จากหลายมุมมอง เช่นเดียวกับการเพิ่มหรือแทรกภาพนิ่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
มุมมองปกติ
การคัดลอกภาพนิ่งจากไฟล์งานนำเสนอื่น
สำหรับการคัดลอกภาพนิ่งจากไฟล์งานนำเสนออื่นนี้เป็น การคัดลอกทั้งภาพนิ่งจากไฟล์อื่นที่ได้มีการสร้างรูปแบบต่าง ๆ มาแล้ว ซึ่งการคัดลอกนี้จะนำมาแทรกเป็น สำเนาลงในไฟล์งานนำเสนอปัจจุบัน จากนั้นจึงค่อยปรับแต่งเพิ่มเติมเนื้อหาหรือรูปแบบอื่น ๆ ได้ตามต้องการ โดยมีขั้นตอนการคัดลอกดังนี้
สำหรับการเปลี่ยนแปลงลำดับภาพนิ่งนั้นผู้เรียนสามารถทำได้กับมุมมองปกติ และ มุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ลำดับขั้นและรูปแบบของงานนำเสนอเป็นไปอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด สำหรับวิธีการทำงานในหัวข้อนี้มีดังนี้
สไลด์ในงานนำเสนอนั้นประกอบไปด้วยหลายสไลด์ ซึ่งอาจจะมีบางสไลด์ที่ไม่ได้ใช้งาน และต้องลบทิ้งไป ซึ่งเราก็สามารถทำได้โดย
- คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการลบ
- แล้วคลิกขวาบนภาพนิ่งที่ต้องการลบเพื่อเลือกรายการ ลบสไลด์
การยกเลิกการทำงานที่ผิดพลาดด้วย Undo
ในส่วนของการยกเลิก การทำงานที่ผิดพลาดนั้นหลาย ๆ โปรแกรม และในทุกเวอร์ชั่นของโปรแกรม Office จะมีการทำงานของคำสั่งนี้อยู่ด้วย ซึ่งคำสั่ง Undo นี้จะเป็นคำสั่งที่ใช้ยกเลิกคำสั่งที่ได้กระทำลงไป โดยสามารถทำการยกเลิกได้หลายครั้ง
นอกจากนี้ยังมีปุ่มคำสั่งอีกคำสั่งหนึ่งที่มาพร้อมกับปุ่ม Undo คือคำสั่ง Redo เป็นคำสั่งที่ยกเลิกหรือย้อนกลับการทำคำสั่ง Undo ซึ่งคำสั่งนี้จะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อมีการใช้คำสั่ง Undo เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น มีการลบข้อความทิ้งไปแล้วใช้คำสั่ง Undo เพื่อยกเลิกการลบข้อความนั้น แต่เกิดเปลี่ยนใจอีกครั้งหนึ่งต้องการลบข้อความนั้นทิ้งจริง ๆ ก็ให้ใช้คำสั่ง Redo เพื่อยกเลิกการใช้คำสั่ง Undo ข้อความก็จะถูกลบทิ้งไปทันที ซึ่งปุ่มคำสั่ง Redo ก็จะอยู่บน Quick Access Toolbar เช่นเดียวกับปุ่มคำสั่ง Undo
การใช้ไม้บรรทัดและเส้นตารางในภาพนิ่ง
การจัดการฐานข้อมูล (Database Management)
Microsoft Access
ความหมายของฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ร่วมกัน
การจัดการฐานข้อมูล (Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งลดความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย
ตัวอย่าง : การจัดระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ฐานข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์ ฐานข้อมูลหนังสือ-วารสารในห้องสมุด ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลประชากร ฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมไทยและฐานข้อมูลงานวิจัย เป็นต้น
การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัย โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น
ความสำคัญของระบบฐานข้อมูล
สรุปความสำคัญของระบบฐานข้อมูลได้ดังนี้
- จัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Data Storage)
- ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Reduce Data Redundancy)
- สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Data Concurrency)
- ลดความขัดแย้งหรือแตกต่างกันของข้อมูล (Reduce Data Inconsistency)
- ป้องกันการแก้ไขข้อมูลต่างๆ (Protect Data Editing)
- ความถูกต้องของข้อมูลมีมากขึ้น (Data Accuracy)
- สะดวกในการสืบค้นข้อมูล (Data Retrieval or Query
- ป้องกันการสูญหายของข้อมูล หรือฐานข้อมูลถูกทำลาย (Data Security)
- เกิดการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ (Apply Information System)
โครงสร้างข้อมูล (File Structure)
โครงสร้างข้อมูล หมายถึง ลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1) บิท (Bit : Binary Digit) บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท
2) ไบท์ (Byte) หรือ ตัวอักขระ (Character) ไบท์ (Byte) หรือ ตัวอักขระ (Character) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 หรือ 8 บิท (1 บิท แทนด้วยตัวอักษร 7 หรือ 8 บิท) ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น
3) เขตข้อมูล (Field) หรือคำ (Word) เขตข้อมูล (Field) หรือคำ (Word) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย
4) ระเบียน (Record) ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล
5) แฟ้มข้อมูล (File) แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน
6) ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา นักศึกษา การลงทะเบียน ผลการเรียนประจำเทอม โปรแกรมวิชา และคณะ เป็นต้น
การออกแบบฐานข้อมูล
โดยทั่วไป การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานภายในองค์กรสามารถจำแนกได้ 2 วิธี คือ วิธีอุปนัย (Inductive approcah) และวิธีนิรนัย (Deductive approach)
1) วิธีอุปนัย การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย เป็นการออกแบบฐานข้อมูลจากล่างขึ้นบน (Bottom-up design) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการใช้งานอยู่แล้วภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กร มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งมีข้อจำกัด คือ การนำกรรมวิธีย่อย ๆ จากการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกันเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก และต้องใช้เวลามากจึงจะสามารถออกแบบและสร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ได้
2) วิธีนิรนัย การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีนิรนัย เป็นการออกแบบฐานข้อมูลจากบนลงล่าง (Top-down design) เป็นการออกแบบฐานข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนการทำงานของหน่วยงาน ต่าง ๆ ภายในองค์กร และความต้องการใช้งานฐานข้อมูล จากการสังเกตการณ์ สอบถาม หรือสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล ตลอดจนรวบรวมข้อมูลจากแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ภายในหน่วยงาน เพื่อนำมาออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งมีข้อจำกัดในการออกแบบ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูลต้องให้ความสำคัญ และความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจะทำให้ได้ระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุมระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร
บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการออกแบบฐานข้อมูล 3 ฝ่าย คือ ผู้บริหารฐานข้อมูล (Data Base Administrator : DBA) และผู้บริหารข้อมูล (Data Administrator : DA) นักวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysts) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) และผู้ใช้ (End-User) ดังนี้
1) ผู้บริหารฐานข้อมูลและผู้บริหารข้อมูล ผู้บริหารฐานข้อมูลเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ควบคุม กำหนดนโยบาย มาตรการ และมาตรฐานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น กำหนดรายละเอียดและวิธีการจัดเก็บข้อมูล กำหนดควบคุมการใช้งานฐานข้อมูล กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดระบบสำรองข้อมูล และกำหนดระบบการกู้คืนข้อมูล เป็นต้น ตลอดจนทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ใช้ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม
2) นักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่รับผิดชอบในการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล ดังนั้นจึงต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจในระบบงานที่องค์กรต้องการ รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานโดยรวมของทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกด้วย นักเขียนโปรแกรมมีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น การเก็บบันทึกข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล เป็นต้น
3) ผู้ใช้ ผู้ใช้เป็นบุคคลที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของระบบฐานข้อมูล คือ ตอบสนองความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ ดังนั้นในการออกแบบระบบฐานข้อมูล จึงจำเป็นต้องมีผู้ใช้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลด้วย
คลิก...ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คลิก..ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย
ทำความรู้จักกับข้อมูล (Data) และความสำคัญของข้อมูล
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมาย และการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัดข้อมูล เป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลข ภาพ เสียง หรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริง และต่อเนื่อง ซึ่งตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้ตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งสารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย
โดยข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ เช่น เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะรับรู้ข้อมูลทางตา ทางหู ทางมือ ทางจมูก และทางปาก
ชนิดของข้อมูล
1. ข้อมูลตัวเลข ประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 145 2468 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่ 13/2 เป็นต้น
3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพบุคคล ภาพสัตว์ต่าง ๆ
4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น
ความสำคัญของข้อมูล
ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก มนุษย์ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์มากมายทั้งในชีวิตประจำวัน และในการปฏิบัติงาน สำหรับในชีวิตประจำวันนั้น ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ทำให้เราทราบเรื่องราวความเป็นไปต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวการศึกษา และเราอาศัยข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการดำรงชีวิต เช่น ข่าวการเดินทาง เรือต่อรถ รถต่อเรือ ทำให้เราทราบว่าในเส้นทางดังกล่าวมีรถสายอะไรผ่าน หากจำเป็นต้องเดินทางนั่นเอง
ประโยชน์ของข้อมูล
1. ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จากโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนหรือเป็นความรู้เพิ่มเติม
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้าเรามีข้อมูล เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้
3. ด้านการตัดสินใจ เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเลือกซื้อของเล่น ถ้าเราทราบราคาของเล่นในแต่ละร้าน จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด
การจัดการฐานข้อมูล2
การจัดการฐานข้อมูล3
ข้อมูล: pentapcy.blogspot.com และ info.muslimthaipost.com